[Dis] โรคหน้าฝน ตอน...ไข้หวัดแมว ฮัดเช้ย ฮัดเช้ย

ฮัดเช้ย ฮัดเช้ย ฮัดเช้ยอยากรู้จังเลยว่าใครเอ่ย…ถึงเหมียววว
อากาศแบบนี้ต้องดูแลสุขภาพด้วยนะคะ ไม่งั้นหวัดรับประทานแน่ๆ เล๊ยยย ไม่ใช่แค่คนเท่านั้นนะคะ แต่น้องแมวก็เป็นหวัดได้ด้วย เรามาทำความรู้จักกับหวัดแมว เพื่อที่จะได้ดูแลน้องแมวของเราให้สุขภาพแข็งแรงรับฤดูฝนกันดีกว่า

โรคหวัดแมว (cat flu) เป็นโรคที่พบได้บ่อยในช่วงที่อากาศมีการเปลี่ยนแปลง ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อไวรัส ซึ่งเป็นไวรัสจำเพาะในแมว

ไวรัสหวัดแมว
โดยทั่วไป มีไวรัส 2 ชนิด
เมื่อแมวได้รับเชื้อและจะมีการอาการหวัด โดยการแยกอาการของการติดเชื้อไวรัสสองตัวนี้อย่างคร่าวๆ คือการสังเกตุได้จากอาการ ซึ่งไวรัส FCV จะไม่ค่อยมีอาการที่ตาและจมูก แต่อย่างไรก็ตาม แมวสามารถมีการติดเชื้อร่วมกันของไวรัสทั้ง 2 ชนิดนี้ได้ ซึ่งจะยิ่งทำให้อาการของโรครุนแรงมากขึ้นไปอีก

Feline Viral Rhinotracheitis (FVRV) หรือ Feline Herpesvirus (FHV)
หลังจากแมวได้รับเชื้อ FVRV เชื้อจะมีระยะฟักตัวประมาณ 2 ถึง 10 วัน โดยจะทำให้แมวมีอาการอักเสบที่ตา จมูก หลอดลม ซึ่งทำให้แมวมีน้ำตาไหล มีน้ำมูกและเสมหะ นอกจากนี้ยังทำให้แมวมีอาการซึม หายใจลำบาก เป็นไข้ ไอ จามและเบื่ออาหาร ในกรณีที่มีเชื้อแบคทีเรีย ร่วมด้วยนั้น จะทำให้น้ำมูกข้นเหนียวจนเป็นหนอง อาจพบแผลหลุมเป็นวงๆ บนลิ้น ทำให้แมวเจ็บมากจนไม่อยากกินอาหาร อาการอาจรุนแรงมากถึงขั้นเกิดปอดบวมและเยื่อหุ้มปอดอักเสบและทำให้ถึงแก่ชีวิตได้

Feline Calici Virus (FCV)
ไวรัสชนิดนี้ ทำให้เกิดอาการน้ำมูกไหล ไอ จาม แต่อาจแสดงอาการรุนแรงมากกว่านั้นได้ สำหรับอาการที่เด่นชัดที่สุดคือ แผลหลุมบนลิ้น จะทำให้มีน้ำลายไหลยืดตลอดเวลา แผลในช่องปากจะทำให้แมวกินอาหารลำบาก ความอยากอาหารลดลง ทำให้อาการทรุดลงเร็ว

การติดต่อของโรคไข้หวัดแมว
การติดต่อของหวัดแมวเกิดจากแมวได้รับการสูดดมเชื้อไวรัสที่กระจายในอากาศจากแมวที่ติดเชื้อ หรือมีการสัมผัสกับแมวที่ติดเชื้อโดยตรง ซึ่งพบได้บ่อยในบริเวณที่มีแมวมาอยู่รวมกันมากๆ นอกจากนี้เชื้อไวรัสอาจติดตามเสื้อผ้าของเจ้าของที่ออกไปสัมผัสแมวป่วยนอกบ้านได้เช่นกัน ดังนั้นหลังจากสัมผัสแมวนอกบ้านแล้ว ควรทำความสะอาดเสื้อผ้าและร่างกายก่อนที่จะมาสัมผัสแมวในบ้านเพื่อเป็นการป้องกันโรคสู่แมวของเรา ในกรณีที่แมวป่วยและหายจากโรคแล้วนั้นสามารถเป็นพาหะนำโรคได้ต่อไป

การดูแลและป้องกันเมื่อเจ้าเหมียวเป็นโรคหวัด
สิ่งแรกที่ต้องทำคือพาแมวไปพบสัตวแพทย์ เพื่อรับการวินิจฉัยเบื้องต้นก่อนว่าเป็นโรคหวัดแมวหรือเปล่า? เพื่อจะได้ทำการรักษาและดูแลต่อค่ะ

การรักษาทำได้โดย
ใช้ยาปฏิชีวนะป้องกันโรคแทรกซ้อนจากแบคทีเรีย รวมทั้งยาลดเสมหะ นอกจากนี้ก็ขึ้นอยู่กับสภาพน้องแมวว่าจำเป็นต้องได้รับน้ำเกลือ วิตามินต่างๆ เพื่อบำรุงตามความเหมาะสมหรือไม่

การดูแล
ควรให้น้องแมวได้กินอาหารอย่างเพียงพอ หากน้องแมวมีแผลในปากจะไม่ค่อยอยากกินอาหารเอง เราอาจต้องช่วยป้อนอาหารและยาให้ นอกจากนี้ต้องดูแลเรื่องความสะอาดด้วย เช่น เช็ดขี้มูก ขี้ตา ทำความสะอาดปากทุกครั้งหลังป้อนอาหาร และควรให้ความอบอุ่นต่อร่างกาย เท่านี้น้องแมวก็จะหายจากอาหารหวัดแมวได้อย่างแน่นอน

สิ่งที่ควรหลีกเลี่ยง
การนำแมวที่ยังไม่มีภูมิคุ้มกันโรคไปอยู่รวมกับแมวภายนอก หากต้องนำแมวไปฝากเลี้ยงหรือต้องนำแมวไปในที่มีแมวรวมตัวกันมากๆ ต้องมั่นใจน้องแมวมีภูมิคุ้มกันดีพอ ได้รับวัคซีนป้องกันโรคหวัดแมวแล้วนะค่า

Source :
โรงพยาบาลสัตว์ทองหล่อ

Image source :
thephatcatinn

 

catikelove- mascot